วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
"สงกรานต์" เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า "ผ่าน" หรือ "เคลื่อนย้ายเข้าไป" ในที่นี้หมายถึงเป็นวันที่พระอาทิตย์ ผ่านหรือเคลื่อนย้าย จากราศีมีน เข้าสู่ ราศีเมษ ในเดือนเมษายน ถือเป็นช่วงสงกรานต์หากพระอาทิตย์เคลื่อนย้าย ในช่วงเดือนอื่น ๆ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายธรรมดา ตามปกตินั้น พระอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่งเป็นประจำทุกเดือน หรือจะเรียกว่าเป็นการย้ายจากกลุ่มดาวหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่ง ตามหลักโหราศาสตร์หรือภาษาโหร เรียกว่า"ยกขึ้นสู่" ตัวอย่างเช่น พระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีเมษ ก็คือการที่พระอาทิตย์ย้ายจากกลุ่มดาวราศีมีนไปสู่กลุ่มดาวราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีถัดไปนั่นเอง
โหรโบราณ ได้แบ่งท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วน ส่วนหนึ่ง ๆ เรียกว่าราศี ซึ่งมีราศีละ 30 องศา 
รวม 12 ราศี ก็เท่ากับ 360 องศาครบรอบวงกลมพอดี 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 12 ราศี
ราศีเมษ
เกิดระหว่างวันที่ 13 เมษายน-13 พฤษภาคม
ราศีพฤษภ
เกิดระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม - 13 มิถุนายน
ราศีเมถุนเกิดระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน -14 กรกฎาคม
ราศีกรกฎ
เกิดระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม
ราศีสิงห์
เกิดระหว่างวันที่ 17สิงหาคม -16 กันยายน
ราศีกันย์
เกิดระหว่างวันที่ 17 กันยายน - 16 ตุลาคม
ราศีตุล
เกิดระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม - 16 พฤศจิกายน
ราศีพิจิก
เกิดระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม
ราศีธนู

เกิดระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม - 15 มกราคม
ราศีมังกร
เกิดระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์
ราศีกุมภ์

เกิดระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ - 13 มีนาคม
ราศีมีน
เกิดระหว่างวันที่ 14 มีนาคม - 12 เมษายน
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ด้วยเหตุนี้ เมื่อสงกรานต์ แปลว่า ผ่าน หรือ เคลื่อนย้ายเข้าไป วันสงกรานต์จึงต้องมีอยู่ประจำทุกเดือน เพราะดวงอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่ง ไปสู่อีกราศีหนึ่งซึ่งอยู่ถัดไปเดือนละ 1 ครั้ง เสมอ
แต่ในวันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ (ตามภาษาโหร) หรือเคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าไปสู่ราศีเมษ ในเดือน เมษายน (ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5) เราถือเป็นกรณีพิเศษ เรียกว่าวันมหาสงกรานต์ด้วยถือกันว่าเป็นวันและแวลาที่ตั้งต้นสู่ปีใหม่ เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ตามการคำนวณของโหรผู้รู้ทางโหราศาสตร์ เพราะในสมัยโบราณเรานับถือเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี สมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2432 ได้กำหนดให้ใช้ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ และได้ใช้เรื่อยมา สาเหตุก็เพราะสอดคล้องกับธรรมเนียมโบราณ เนื่องจาก หากนับทางจันทรคติ จะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ซึ่งก็คือวันสงกรานต์ หรือวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนไปสู่ราศีเมษนั่นเอง
และได้มีการใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันปีใหม่ของไทยแต่นั้นเรื่อย มาแม้ว่าในปีต่อไปจะไม่ตรงกับวันสงกรานต์ (หมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีน ไปสู่ราศีเมษ) ทั้งนี้เพื่อให้มีการกำหนดวันทางสุริยคติที่แน่นอนตายตัวลงไป

แหล่งที่มาhttps://www.sanook.com/campus/948044/ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น