วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วิทยาการคำนวณ ม.4

 วิทยาการคำนวณ ม.4

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิทยาการคํานวณ ม.4

บทที่ 1 แนวคิดเชิงคำนวณ

วิทยาการคำนวณ = เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคํานวณในการแก้ปัญหา                              
ชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทํางานและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทันและมีจริยาธรรม
แนวคิดเชิงคํานวณ (Computational Thinking) ไม่ใช่การคิดเหมือนหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญแต่เป็นทักษะที่มุ่งเน้นการคิดเชิงตรรกะแนวคิดเชิงคํานวณประกอบด้วยการใช้ทักษะย่อย 4 ทักษะ
1.แนวคิดการแยกย่อย
    การแยกแยะปัญหา โดยตะวันสามารถแยกแยะปัญหาได้เป็น
      2 ประเด็น ได้แก่
       • ยางรถแบน
     • น้ำมันรถใกล้5หมด
2.แนวคิดการจดจํารูปแบบ
  การเข้าใจรูปแบบ ตะวันควรต้องจัดการกับยางรถก่อนเติมน้ำมันเนื่องจากน้ำมันที่เหลืออยู่มากพอที่     ตะวันจะขับรถยนต์ไปถึงสถานีบริการน้ำมัน ดังนั้นตะวันควรมุ่งแก่ไขปัญหายางรถแบนก่อน
3.แนวคิดเชิงนามธรรม
หาแนวคิดรวบยอดของแต่ละปัญหาย่อยเป็นการมุ่งเน้นความสําคัญของปัญหาโดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จําเป็นการคิดรวบยอดของปัญหาดังกล่าวจะได้ว่า ตะวันต้องทําการเปลี่ยนยางรถยนต์
4.แนวคิดการออกแบบขั้นตอน
เมื่อตะวันต้องการเปลี่ยนยางรถยนต์ตะวันจะต้องออกแบบลําดับขั้นตอนในการเปลี่ยนยางดังนี้
             • หมุนบล็อกเพื่อคลายนอต
             • ใช้แม่แรงยกรถขึ้นและถอดนอตออก
             • ถอดล้อออก เปลี่ยนล้ออะไหล่แทนที่
             • ใส่นอตแล้วปล่อยแม่แรง
             • ขันนอตให้แน่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิทยาการข้อมูล

บทที่ 2 วิทยาการข้อมูล

ระบบเลขฐาน 2 
• เลขฐานสิบ คือเลขฐานที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจําวัน
ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวอย่างเลขฐานสิบ
5,432 เกิดจาก 5000 + 400 + 30 + 2
หรือเขียนได้ว่า...
5x1000 + 4x100 + 3x10 + 2x1
• สิ่งที่นักเรียนต้องรู้คือเลขฐานมีค่าประจําหลักซึ่งค่าประจําหลักของเลขฐานสิบคือ
10000 1000 100 10 1
หรือ 104 103 102 101 100
ระบบเลขฐานสอง
• เลขฐานสอง คือเลขฐานที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทํางาน
ประกอบด้วยเลข 2 ตัว ได้แก่ 0 และ 1 (เพราะคอมพิวเตอร์ทํางานด้วยระบบไฟฟ้า)
และค่าประจําหลักของเลขฐานสอง ก็คือ 2 ยกกําลังด้วยหลักต่างๆ เช่น
101101 = 1x25 + 0x24 + 1x23 + 1x22 + 0x21 + 1x20
= 32 + 0 + 8 + 4 + 0 + 1
= 45 (เลขฐานสิบ)
หากพิจารณาความสัมพันธ์นี้จะพบว่า ค่าประจําหลักของเลขฐานสองคือ...
..... 128 64 32 16 8 4 2 1
การแปลงเลขฐานสองไปเป็นเลขฐานสิบ
• จากความสัมพันธ์ข้างต้น นักเรียนจะสามารถแปลงเลขฐานสองไปเป็นเลขฐานสิบได้ดังนี้
11001 = 16 + 8 + 4 + 2 + 1
11001 = 16 + 8 + 4 + 2 + 1
11001 = 25


วิทยาการคำนวณมีกี่แนวคิดอะไรบ้าง
ตอบ=4แนวคิด 
1.แนวคิดการแยก 
2.แนวทางการจดจำรูปแบบ
 3.แนวคิดเชิงนามธรรม
 4.แนวคิดการออกแบบขั้นตอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น